1/03/2012

นักกฎหมายกฤษฎีกาเชี่ยวชาญ


ตำแหน่งประเภท                              วิชาการ
ชื่อสายงาน                                       นักกฎหมายกฤษฎีกา
ชื่อตำแหน่งในสายงาน                   นักกฎหมายกฤษฎีกา
ระดับตำแหน่ง                                   เชี่ยวชาญ


หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมาย ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง กรม ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมาย ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้




1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) เสนอความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงกฎหมาย กฎทางปกครอง การทำนิติกรรมสัญญาหรือสัญญาทางปกครอง
(2) ศึกษา วิเคราะห์หลักกฎหมายปกครองของต่างประเทศ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายและการให้ความเห็นทางกฎหมายของผู้บังคับบัญชาหรือคณะกรรมการกฤษฎีกา
(3) ดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดที่มีลักษณะยุ่งยากเป็นพิเศษหรือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนเป็นพิเศษ เพื่อเสนอตราเป็นกฎหมายต่อไป
(4) กำ กับดูแลงานทั่วไปของฝ่ายเลขานุการกรรมการกฤษฎีกาให้เป็นไปโดยเรียบร้อยมิให้ล่าช้าและให้เป็นไปตาม “มาตรฐาน” การปฏิบัติงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
(5) ปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมในด้านภารกิจหลักของหน่วยงาน และการเป็นกรรมการในคณะกรรมการตามกฎหมายต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้ความเห็นในประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(6) ศึกษา ค้นคว้า และให้ความเห็นเกี่ยวกับรูปแบบของกฎหมาย และการใช้ถ้อยคำในกฎหมาย เพื่อให้กฎหมายไทยมีความสอดคล้องกันและเป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการ
(7) วางแผนและประสานงานด้านนิติบัญญัติเกี่ยวกับการเสนอร่างกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา รวมทั้งตรวจสอบสภาพปัญหาในการพิจารณาร่างกฎหมาย เพื่อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาต่อรัฐบาล
(8) ให้ความเห็นต่อรัฐบาลเกี่ยวกับหลักการของร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้การออกกฎหมายเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม

2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผน โดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการแผนงาน โครงการในระดับกลยุทธ์ของส่วนราชการระดับกรม มอบหมายงาน แก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน ติดตามประเมินผล เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานโครงการต่างๆ กับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมีบทบาทในการจูงใจ โน้มน้าว เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก่หน่วยงานระดับสำนักหรือกอง รวมทั้งที่ประชุมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์และความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน

4. ด้านการบริการ
(1) เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนจัดทำเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับหลักกฎหมายปกครอง การร่างกฎหมาย และการให้ความเห็นทางกฎหมายให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
(2) ให้ความเห็นและคำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติราชการให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายและแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมาแล้ว ดังต่อไปนี้
2.1 ประเภทอำนวยการ ระดับสูง
2.2 ประเภทอำนวยการ ระดับต้น ไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.3 ประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ
2.4 ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ไม่น้อยกว่า 3 ปี
2.5 ตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบเท่า 2.1 หรือ 2.2 หรือ 2.3 หรือ 2.4 แล้วแต่กรณีตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดและ
3. ปฏิบัติงานด้านกฎหมายหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
1. มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
2. มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
3. มีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง


นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ

นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ   ตำแหน่งประเภท                       วิชาการ ชื่อสายงาน                                 วิชาการวัฒนธรรม ชื่อตำ...