2/11/2013

นักวิชาการยุติธรรมเชี่ยวชาญ



ตำแหน่งประเภท                       วิชาการ
ชื่อสายงาน                                วิชาการยุติธรรม
ชื่อตำแหน่งในสายงาน            นักวิชาการยุติธรรม
ระดับตำแหน่ง                           เชี่ยวชาญ


หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
          ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในด้านงานยุติธรรม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง กรม ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในด้านงานยุติธรรม ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้



1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ให้คำปรึกษา และเสนอความเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่สำคัญทางวิชาการยุติธรรม พร้อมแนวทางการแก้ไขปัญหา หรือปรับปรุงงาน เพื่อประกอบการกำหนดนโยบาย แผนงาน และแนวทางปฏิบัติในการพัฒนางาน วิชาการยุติธรรม การพัฒนาระบบงานยุติธรรม และการอำนวยความยุติธรรม เช่น การจัดการความขัดแย้ง การคุ้มครองพยาน การช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา ฯลฯ
(2) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับงานที่สำคัญทางวิชาการยุติธรรม เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ และเทคนิควิธีการใหม่ๆ ในการดำเนินงานและบริหารจัดการงานยุติธรรมเพื่อให้งานยุติธรรมมีความหลากหลาย และเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพการณ์ และนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
(3) พัฒนางานวิชาการยุติธรรมในรูปแบบเอกสารทางวิชาการ คู่มือ หลักเกณฑ์ และวิธีการ เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่เจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่สนใจ
(4) กำหนดรูปแบบและแนวทางการประเมินผลการดำเนินงานเกี่ยวกับงานยุติธรรม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดเสนอความเห็นในการกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ มาตรฐาน มาตรการ หรือแนวทางต่างๆ เกี่ยวกับงานการยุติธรรม เพื่อให้เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบาย และการบริหารราชการของหน่วยงานและรัฐบาล
(5) จัดทำข้อเสนอทางเลือกเพื่อการตัดสินใจเสนอต่อผู้บริหารระดับสูง เพื่อใช้ในการวางแผน/กำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ และการพัฒนารูปแบบวิธีการทำงานบริหารจัดการงานยุติธรรมให้มีความเหมาะสม และสามารถบูรณาการเข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาในแต่ละระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(6) ช่วยเหลือผู้บริหารระดับสูงในการกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ ประสานการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับกรม รวมทั้งการติดตามประเมินผลการดำเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการยุติธรรม เพื่อให้การปฏิบัติราชการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนด

2. ด้านการวางแผน
       วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผน โดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการแผนงาน โครงการ ในระดับกลยุทธ์ของส่วนราชการระดับกรม มอบหมายงาน แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานติดตาม ประเมินผล เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานโครงการต่าง ๆ กับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมีบทบาทในการจูงใจ โน้มน้าวเพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ให้ข้อคิดเห็นและคำแนะนำ แก่หน่วยงานระดับสำนักหรือกอง รวมทั้งที่ประชุมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์และความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คำปรึกษาแนะนำ ชี้แจง และตอบปัญหาที่สำคัญทางวิชาการยุติธรรม และทางกฎหมายแก่หน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ ประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูล มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(2) อำนวยการฝึกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ในด้านงานวิชาการยุติธรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง สมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ
(3) ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาเกี่ยวกับงานที่มีความซับซ้อน ใช้เทคนิคและความชำนาญมาก เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในงานให้ดำเนินไปได้ด้วยดี และลุล่วงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
(4) พัฒนาระบบฐานข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการบริหารและการพัฒนา งานยุติธรรม เพื่อการประมวลผล วิเคราะห์ และการนำเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการแผนงาน/โครงการ หลักเกณฑ์วิธีการในการบริหารและพัฒนางานยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการยุติธรรม ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมาแล้ว ดังต่อไปนี้
2.1 ประเภทอำนวยการ ระดับสูง
2.2 ประเภทอำนวยการ ระดับต้น ไม่น้อยกว่า 1ปี
2.3 ประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ
2.4 ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ไม่น้อยกว่า 3 ปี
2.5 ตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบเท่า 2.1 หรือ 2.2 หรือ 2.3 หรือ 2.4 แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด
และ
3. ปฏิบัติงานด้านงานยุติธรรมหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
1. มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
2. มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
3. มีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง



นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ

นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ   ตำแหน่งประเภท                       วิชาการ ชื่อสายงาน                                 วิชาการวัฒนธรรม ชื่อตำ...