2/12/2013

นักพัฒนาระบบราชการเชี่ยวชาญ


ตำแหน่งประเภท                   วิชาการ
ชื่อสายงาน                            พัฒนาระบบราชการ
ชื่อตำแหน่งในสายงาน        นักพัฒนาระบบราชการ
ระดับตำแหน่ง                       เชี่ยวชาญ

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
             ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในด้านพัฒนาระบบราชการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง กรม ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในด้านพัฒนาระบบราชการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้


1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย วินิจฉัยปัญหาสำคัญทางด้านพัฒนาระบบราชการ ให้คำปรึกษา เสนอความเห็น จัดทำข้อเสนอในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาระบบราชการ และงานของรัฐอย่างอื่น เพื่อให้ระบบราชการมีความเข้มแข็ง ทันสมัย สอดรับกับ การบริหารภาครัฐแนวใหม่
(2) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อเสนอแนวทาง หลักการ มาตรการ และวิธีการปฏิบัติราชการ วินิจฉัยปัญหาและเสนอแนะ แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ เพื่อให้ การบริหารราชการเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ และเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข
(3) ศึกษา วิเคราะห์ เสนอความเห็น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ และมาตรฐาน การจัดและพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ การจัดระบบงาน การบริหารราชการ และวิธีการปฏิบัติงานของรัฐอย่างอื่น
(4) ให้คำปรึกษา เสนอแนะโครงการนวัตกรรมในการบริหารราชการ ดำเนินโครงการนำร่อง เพื่อพัฒนาหลักการ แนวทางเทคนิค และวิธีการปฏิบัติราชการที่เหมาะสมกับระบบราชการไทย และขยายผลไปสู่การนำไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
(5) เป็นที่ปรึกษาส่วนราชการ ให้คำปรึกษาแนะนำ ความเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ รวมทั้ง ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินการพัฒนาระบบราชการด้านต่าง ๆ ของส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐ เพื่อให้การพัฒนาระบบราชการเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง
(6) ติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการ การประเมินผลการพัฒนาระบบราชการในภาพรวม ส่งเสริมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ จัดทำรายงานสรุปผลการพัฒนาระบบราชการ เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ ต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสมาชิกหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(7) กำกับดูแลการปฏิบัติงาน ให้คำปรึกษาแนะนำ พัฒนาเทคนิค วิธีการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การบริหารงบประมาณและการคลัง การติดตามประเมินผล การปฏิบัติงาน การบริหารทรัพยากรบุคคล การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ งานเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ การสื่อสารสร้างความเข้าใจในการพัฒนาระบบราชการ การประชาสัมพันธ์ งานวิเทศสัมพันธ์ งานช่วยอำนวยการ งานสวัสดิการ งานอาคารสถานที่ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามภารกิจหลักของส่วนราชการ

2. ด้านการวางแผน
        วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผน โดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการแผนงาน โครงการในระดับกลยุทธ์ของส่วนราชการระดับกรม มอบหมายงาน แก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน ติดตาม ประเมินผล เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานโครงการต่าง ๆ กับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมีบทบาทในการจูงใจ โน้มน้าว เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำ แก่หน่วยงานระดับสำนักหรือกอง รวมทั้งที่ประชุม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์และความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน

4. ด้านการบริการ
(1) เสนอแนะและให้ความเห็นแก่คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และหน่วยงานราชการอื่น ๆ ในระดับสูง เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย มาตรการต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบราชการ
(2) ให้คำปรึกษาแนะนำ วินิจฉัย ชี้แจงและตอบปัญหาที่สำคัญในการพัฒนาระบบราชการ ถ่ายทอดความรู้สร้างความเข้าใจ แก่ส่วนราชการ เอกชน หรือประชาชน ให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ แนวคิด และวิธีการพัฒนาระบบราชการที่ถูกต้อง เพื่อให้ระบบราชการมีการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
(3) พัฒนางานวิชาการด้านการพัฒนาระบบราชการและงานอื่นของรัฐ สร้างองค์ความรู้ จัดทำเอกสารทางวิชาการ คู่มือ หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือผู้สนใจทั่วไป

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักพัฒนาระบบราชการ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมาแล้ว ดังต่อไปนี้
2.1 ประเภทอำนวยการ ระดับสูง
2.2 ประเภทอำนวยการ ระดับต้น ไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.3 ประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ
2.4 ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ไม่น้อยกว่า 3 ปี
2.5 ตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบเท่า 2.1 หรือ 2.2 หรือ 2.3 หรือ 2.4 แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด
และ
3. ปฏิบัติงานด้านพัฒนาระบบราชการหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ส่วนราชการเจ้าสังกัด เห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
1. มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
2. มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
3. มีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง



นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ

นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ   ตำแหน่งประเภท                       วิชาการ ชื่อสายงาน                                 วิชาการวัฒนธรรม ชื่อตำ...