ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน พัฒนาระบบราชการ
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักพัฒนาระบบราชการ
ระดับตำแหน่ง ชำนาญการ
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในด้านพัฒนาระบบราชการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในด้านพัฒนาระบบราชการ ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย สรุปความคิดเห็น จัดทำข้อเสนอ ประกอบการกำหนดนโยบาย มาตรการ หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ เพื่อให้ระบบราชการมีความเข้มแข็ง ทันสมัย สอดรับกับการบริหารภาครัฐแนวใหม่
(2) ให้คำปรึกษาแนะนำ เป็นที่ปรึกษาส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ เพื่อให้การบริหารราชการเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ และเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
(3) ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการจัดและพัฒนาโครงสร้าง ส่วนราชการ และหน่วยงานอื่นของรัฐ การจัดตั้ง การรวม การโอน การยุบเลิก การกำหนดชื่อ การกำหนดอำนาจหน้าที่ และการแบ่งส่วนราชการภายในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อปรับบทบาท ภารกิจและขนาดของส่วนราชการให้มีความเหมาะสม
(4) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เพื่อให้มีการดำเนินการปรับบทบาทภารกิจของส่วนราชการ การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการ การพัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารงานราชการด้านต่าง ๆ การจัดและพัฒนาระบบงาน การปรับปรุงรูปแบบขั้นตอนและวิธีการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของส่วนราชการ
(5) ให้คำปรึกษาแนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน ผลักดัน ให้ส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐ ดำเนินการตามนโยบาย มาตรการ หลักเกณฑ์ แนวทางการพัฒนาระบบราชการ เพื่อให้การพัฒนาระบบราชการเกิดผลเป็นรูปธรรม
(6) ชี้แจงทำความเข้าใจ เผยแพร่ สื่อสารสร้างความเข้าใจ ฝึกอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการด้านต่าง ๆ แก่ส่วนราชการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการปฏิบัติราชการ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ
(7) ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาระบบราชการ การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ การส่งเสริมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการพัฒนาระบบราชการ เสนอผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายที่กำหนด
(8) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การบริหารงบประมาณและการคลัง การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน การบริหารทรัพยากรบุคคล การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ งานเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ การสื่อสารสร้างความเข้าใจ ในการพัฒนาระบบราชการ การประชาสัมพันธ์ งานวิเทศสัมพันธ์ งานช่วยอำนวยการ งานสวัสดิการ งานอาคารสถานที่ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามภารกิจหลักของส่วนราชการ
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือกอง และแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คำปรึกษาแนะนำ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ชี้แจงตอบปัญหา แก่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐอื่น ข้าราชการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการดำเนินการตามนโยบาย มาตรการ แนวทางและวิธีดำเนินการพัฒนาระบบราชการ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ
(2) เผยแพร่ สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ แก่ข้าราชการและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
(3) จัดทำฐานข้อมูลหรือสารสนเทศ เกี่ยวกับการบริหารราชการ เพื่อประกอบการกำหนดนโยบาย มาตรการ หลักเกณฑ์และวิธีการ การกำหนดแนวทางดำเนินการในการพัฒนาระบบราชการ และเผยแพร่แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการตัดสินใจในเชิงนโยบายด้านต่าง ๆ
(4) จัดทำเอกสารเผยแพร่ คู่มือ สื่อต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ การพัฒนาระบบราชการ
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักพัฒนาระบบราชการ ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมาแล้ว ดังต่อไปนี้
2.1 ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ
2.2 ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักพัฒนาระบบราชการ ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 หรือข้อ 4 ที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาโท และให้ลดเป็น 2 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักพัฒนาระบบราชการ ระดับปฏิบัติการ ข้อ 3 หรือข้อ 4 ที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาเอก
2.3 ตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบเท่า 2.1 หรือ 2.2 แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด
และ
3. ปฏิบัติงานด้านพัฒนาระบบราชการหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
1. มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
2. มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
3. มีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง