11/12/2011

นักวิชาการศุลกากรชำนาญการพิเศษ


ตำแหน่งประเภท                   วิชาการ
ชื่อสายงาน                            วิชาการศุลกากร
ชื่อตำแหน่งในสายงาน         นักวิชาการศุลกากร
ระดับตำแหน่ง                       ชำนาญการพิเศษ


หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก

ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในด้านวิชาการศุลกากร ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในด้านวิชาการศุลกากร ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้




1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะทิศทาง กลยุทธ์ ภารกิจ เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร พิกัดอัตราศุลกากร พิธีการและราคาศุลกากร ตรวจสอบใบขนสินค้า และเอกสารพิธีการเกี่ยวกับการนำสินค้าเข้า ส่งสินค้าออก การตรวจสอบพิกัดอัตราศุลกากร ราคาศุลกากร แหล่งกำเนิดสินค้า การกำหนดราคาศุลกากร การประเมินอากร การจัดเก็บเงินภาษีอากรและเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ การจัดเก็บอากรปากระวาง การตรวจปล่อยสินค้าเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยง สอดคล้อง และต่อเนื่อง ทำให้การปฏิบัติพิธีการศุลกากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(2) ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะทิศทาง กลยุทธ์ ภารกิจ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลสัญญาณภาพจากการตรวจสอบตู้สินค้าด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ การตรวจคัดและตรวจปล่อยของทางไปรษณีย์ การควบคุม การบรรทุกและขนถ่ายสินค้า การควบคุมยานพาหนะและสินค้า การคืนภาษีอากร การควบคุมการเก็บของ การขนย้าย การนำของออกจากเขตที่กำหนดในคลังสินค้า คลังสินค้าทัณฑ์บน เขตปลอดอากร เขตอุตสาหกรรมส่งออก เขตพื้นที่พัฒนาร่วม การควบคุมสินค้าผ่านแดนและสินค้าถ่ายลำ การตรวจของติดตัวผู้โดยสาร การตรวจเอกสาร หลักฐานบัญชีเกี่ยวกับการนำเข้า ส่งออก ณ สถานประกอบการ การตรวจสอบสินค้าตกค้าง การสืบสวนประมวลหลักฐาน ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตามกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การดูแลเก็บรักษาและจำหน่าย ของกลาง ของตกค้าง ปัจจัยความเสี่ยงเกี่ยวกับการลักลอบหลีกเลี่ยงมาตรการการควบคุมของที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและประเทศชาติ เพื่อให้ถูกต้องตามแนวทางปฏิบัติพิธีการศุลกากร
(3) ช่วยกำกับ ติดตามการดำเนินงาน หรือพิจารณาเสนอแนะให้ความเห็น เกี่ยวกับงาน ด้านศุลกากรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้การบริหารและการพัฒนางานด้านศุลกากรเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
(4) จัดทำประเด็น ข้อเสนอ สรุปรายงาน ในการนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ชุดต่าง ๆ เพื่อกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารและการพัฒนางานวิชาการศุลกากร
(5) จัดทำและพัฒนางานวิชาการด้านการศุลกากร ในรูปแบบเอกสารทางวิชาการ คู่มือ หลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่เจ้าหน้าที่ หรือผู้สนใจทั่วไปนำไปประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์

2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือกอง มอบหมายงาน แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผล เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันในทีมงานโดยมีบทบาทในการชี้แนะ จูงใจทีมงานหรือหน่วยงานอื่นในระดับสำนักหรือกอง เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์และความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน

4. ด้านการบริการ
(1) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการศุลกากร เพื่อประโยชน์ต่อการสร้างความเข้าใจความร่วมมือในการดำเนินการใด ๆ หรือแก้ไขปัญหาในประเด็นยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ และเพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
(2) ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ ฝึกอบรม เผยแพร่ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานศุลกากร เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับงานด้านศุลกากร
(3) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(4) เสนอแนะและให้ความเห็นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร เพื่อความถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการศุลกากร ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมาแล้ว ดังต่อไปนี้
2.1 ประเภทอำนวยการ ระดับต้น
2.2 ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ
2.3 ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ไม่น้อยกว่า 4 ปี
2.4 ตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบเท่า 2.1 หรือ 2.2 หรือ 2.3 แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดและ
3. ปฏิบัติงานด้านวิชาการศุลกากรหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
1. มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
2. มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
3. มีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง

นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ

นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ   ตำแหน่งประเภท                       วิชาการ ชื่อสายงาน                                 วิชาการวัฒนธรรม ชื่อตำ...