ตำแหน่งประเภท วิชาการ
ชื่อสายงาน จิตวิทยา
ชื่อตำแหน่งในสายงาน นักจิตวิทยา
ระดับตำแหน่ง เชี่ยวชาญ
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญในงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในด้านจิตวิทยา ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาของส่วนราชการระดับกระทรวง กรม ซึ่งใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในด้านจิตวิทยา ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมากและมีผลกระทบในวงกว้าง และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) กำหนดแนวทาง เสนอแนะนโยบายในภาพรวม เป็นที่ปรึกษา พัฒนาระบบ การประเมินผลกระทบ ประเมิน สำรวจ วิเคราะห์ สภาวะสุขภาพจิตด้วยวิธีการทางจิตวิทยา กับกลุ่มเป้าหมายเพื่อค้นหา อธิบาย ทำนายแนวโน้ม พฤติกรรม อารมณ์ ความคิด พัฒนาการ ศักยภาพ แรงจูงใจ ความถนัดบุคลิกภาพ สาเหตุของปัญหาสุขภาพจิต
(2) กำหนดแนวทาง เสนอแนะนโยบายในภาพรวม เป็นที่ปรึกษา พัฒนาระบบประเมินผลกระทบ ให้การปรึกษา แนะแนว ปรับพฤติกรรม ฟื้นฟูสภาวะทางจิตใจ สังคม อารมณ์ส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจ ยอมรับปัญหาของตนเอง ปรับเปลี่ยน อารมณ์ ความคิดพฤติกรรม วิธีการปรับตัว หรือวิธีแก้ปัญหาให้เหมาะสม
(3) กำหนดแนวทาง เสนอแนะนโยบายในภาพรวม เป็นที่ปรึกษา พัฒนาระบบประเมินผลกระทบ ส่งเสริม ป้องกัน เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาพฤติกรรม สุขภาพจิต ของกลุ่มเป้าหมาย ด้วยเครื่องมือและกระบวนการทางจิตวิทยา เพื่อพัฒนาความสามารถในการดำเนินชีวิตได้เหมาะสมยิ่งขึ้น
(4) กำหนดแนวทาง เป็นที่ปรึกษา พัฒนางานวิจัยด้านจิตวิทยา และวิชาการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมด้านจิตวิทยา สุขภาพจิต
(5) สังเคราะห์ข้อมูล รายงานผลการปฏิบัติงานทางจิตวิทยา เพื่อประกอบการวางแผนพัฒนาการปฏิบัติงานในระดับกรม
2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผน โดยเชื่อมโยงหรือบูรณาการแผนงาน โครงการในระดับกลยุทธ์ของส่วนราชการระดับกรม มอบหมายงาน แก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน ติดตามประเมินผล เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานโครงการต่างๆกับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรอื่น โดยมีบทบาทในการจูงใจ โน้มน้าว เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำแก่หน่วยงานระดับสำนักหรือกอง รวมทั้งที่ประชุมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์และความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน
4. ด้านการบริการ
(1) แนะนำ อำนวยการ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ความรู้วิชาการจิตวิทยา วิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ มีความเข้าใจ ปรับใช้ในการดำเนินชีวิต
(2) อำนวยการถ่ายทอด ฝึกอบรม ให้คำแนะนำ นิเทศ องค์ความรู้ เทคโนโลยีด้านจิตวิทยาจัดทำแผนการฝึกอบรม หลักสูตรการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ ของบุคลากร องค์กรเครือข่าย
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักจิตวิทยา ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมาแล้ว ดังต่อไปนี้
2.1 ประเภทอำนวยการ ระดับสูง
2.2 ประเภทอำนวยการ ระดับต้น ไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.3 ประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ
2.4 ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ไม่น้อยกว่า 3 ปี
2.5 ตำ แหน่งอย่างอื่นที่เทียบเท่า 2.1 หรือ 2.2 หรือ 2.3 หรือ 2.4 แล้วแต่กรณีตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดและ
3. ปฏิบัติงานด้านจิตวิทยา หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
ความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
1. มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
2. มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
3. มีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง