1/01/2012

นักกฎหมายกฤษฎีกาชำนาญการ


ตำแหน่งประเภท                         วิชาการ
ชื่อสายงาน                                  นักกฎหมายกฤษฎีกา
ชื่อตำแหน่งในสายงาน              นักกฎหมายกฤษฎีกา
ระดับตำแหน่ง                              ชำนาญการ


หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในด้านกฎหมายปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงในด้านกฎหมาย ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้




1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ดำเนินการยกร่างกฎหมาย ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องให้กับหน่วยงานของรัฐ เพื่อเสนอตราเป็นกฎหมายต่อไป
(2) ศึกษา ค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวกับกฎหมายในประเทศและต่างประเทศแปลกฎหมายต่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ และเปรียบเทียบกับกฎหมายไทย เพื่อนำมาพัฒนากฎหมาย
(3) ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายโดยคำนึงถึงความจำเป็น ความเป็นไปได้และขอบเขตที่จะต้องมีกฎหมาย ความสอดคล้องกับหลักกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ความมีประสิทธิภาพของการจัดองค์กรและกลไกเพื่อการใช้บังคับกฎหมาย ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการบริหารราชการ และภาระหรือความยุ่งยากของประชาชนหรือผู้ที่จะอยู่ในบังคับแห่งกฎหมาย และแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง เพื่อให้ร่างกฎหมายมีความถูกต้องสมบูรณ์มากที่สุด
(4) วิเคราะห์กฎหมายต่างๆ ที่สมควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข และติดตามความเคลื่อนไหวของงานด้านกฎหมาย เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนากฎหมายและทำข้อเสนอแนะ
(5) รับผิดชอบโครงการวิจัยและพัฒนากฎหมายที่ยุ่งยาก ซับซ้อนของทุกส่วนราชการ เพื่อให้งานพัฒนากฎหมายดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องครบถ้วนมากที่สุด
(6) รับผิดชอบในการปฏิบัติงานฝ่ายเลขานุการกรรมการกฤษฎีกา กรรมการพัฒนากฎหมาย และกรรมการปรับปรุงกฎหมายต่างๆ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นฝ่ายเลขานุการ รวมตลอดถึงคณะอนุกรรมการและคณะทำงานของคณะกรรมการดังกล่าวด้วย เพื่อจัดเตรียมเรื่องเข้าประชุม เสนอความเห็นต่อกรรมการกฤษฎีกาในการพิจารณาร่างกฎหมายและการให้ความเห็นทางกฎหมาย และจัดทำบันทึกเรื่องเสร็จเสนอต่อผู้บังคับบัญชา

2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานตามแผนงานหรือโครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือกอง และแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ด้านการบริการ
(1) ให้ความเห็นทางกฎหมาย พิจารณา วินิจฉัยปัญหากฎหมายของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในระดับกรมหรือกระทรวง เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
(2) ให้ความรู้ทางกฎหมายและจัดทำสื่อประกอบการเผยแพร่ เพื่อให้ความรู้ทางกฎหมายแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมาแล้ว ดังต่อไปนี้
2.1 ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ
2.2 ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า 6 ปี กำหนดเวลา 6 ปี ให้ลดเป็น 4 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา ระดับปฏิบัติการ ข้อ 2 หรือข้อ 4 ที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาโท และให้ลดเป็น 2 ปี สำหรับผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา ระดับปฏิบัติการ ข้อ 3 หรือข้อ 4 ที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาเอก
2.3 ตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบเท่า 2.1 หรือ 2.2 แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดและ
3. ปฏิบัติงานด้านกฎหมายหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง


1. มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
2. มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง
3. มีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง


นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ

นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ   ตำแหน่งประเภท                       วิชาการ ชื่อสายงาน                                 วิชาการวัฒนธรรม ชื่อตำ...