1/02/2012

นักกฎหมายกฤษฎีกาชำนาญการพิเศษ


ตำแหน่งประเภท                              วิชาการ
ชื่อสายงาน                                       นักกฎหมายกฤษฎีกา
ชื่อตำแหน่งในสายงาน                   นักกฎหมายกฤษฎีกา
ระดับตำแหน่ง                                   ชำนาญการพิเศษ




หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน ซึ่งต้องกำกับ แนะนำ ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำ นาญงานสูงมากในด้านกฎหมาย ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ ความสามารถประสบการณ์ และความชำนาญงานสูงมากในด้านกฎหมาย ปฏิบัติงานที่ต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหาที่ยากมาก และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้




1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ศึกษาและรวบรวมหลักกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องของต่างประเทศ ตรวจสอบความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ คำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ คำพิพากษาศาลฎีกา และคำพิพากษาศาลปกครอง ในประเด็นเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับประเด็นที่หารือมาก่อนหรือมีข้อหารือที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือไม่ เพื่อประกอบในการจัดทำบันทึกความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยในการจัดทำบันทึกความเห็นต้องศึกษา “ประเด็นข้อเท็จจริง” และ “ประเด็นข้อกฎหมาย” ของปัญหาที่หารือมาโดยถ่องแท้
(2) ศึกษา ค้นคว้ากฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ รวมทั้ง “ปัญหาข้อกฎหมาย” และ “ปัญหาทางปฏิบัติ” เพื่อนำมายกร่างกฎหมายระดับพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดที่มีความยุ่งยากเป็นพิเศษ โดยในการยกร่างกฎหมายจะต้องคำนึงถึงความจำเป็นความเป็นไปได้และขอบเขตที่จะต้องมีกฎหมาย ความสอดคล้องกับหลักกฎหมายและบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ความมีประสิทธิภาพของการจัดองค์กรและกลไก เพื่อการใช้บังคับกฎหมาย ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการบริหารราชการและภาระหรือความยุ่งยากของประชาชนหรือผู้ที่จะอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายนั้นด้วย
(3) ศึกษาความเป็นมาของร่างกฎหมาย และตรวจสอบความถูกต้องของร่างกฎหมายโดยเปรียบเทียบกับแบบการร่างกฎหมายที่คล้ายคลึงกันและสามารถเทียบเคียงได้ ศึกษาถึงโครงสร้างและกลไกของกฎหมายว่าเหมาะสมหรือสมบูรณ์พอที่จะทำให้ใช้บังคับโดยเกิดผลตลอดจนพิเคราะห์การตีความที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการบัญญัติถ้อยคำในกฎหมาย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาร่างกฎหมาย
(4) ตรวจสอบกฎหมายเพื่อทำการวิเคราะห์ กำหนดรูปแบบของกฎหมายให้เป็นมาตรฐานกลาง เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการบัญญัติกฎหมายของประเทศ
(5) ให้ความเห็นและแสดงความคิดเห็นทางกฎหมาย รวมทั้งข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการร่างกฎหมาย การให้ความเห็นทางกฎหมายในฐานะเลขานุการกรรมการกฤษฎีกา เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายของคณะกรรมการ
(6) ศึกษา ค้นคว้า และวิเคราะห์กฎหมายต่างประเทศและเอกสารทางกฎหมายของต่างประเทศ รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศกับกฎหมายไทย เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จัดทำคำแปลกฎหมายและเอกสารทางกฎหมายอย่างเป็นทางการ เพื่อใช้อ้างอิงความถูกต้องของกฎหมายไทย ให้ความเห็นทางกฎหมายเป็นภาษาต่างประเทศตามที่คณะรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ สถานทูตของรัฐบาลต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศร้องขอ
(7) ศึกษา ตรวจสอบ และวิเคราะห์เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย เพื่อเสนอแนะให้ปรับปรุงกฎหมายอย่างเป็นระบบ
(8) รับผิดชอบในการปฏิบัติงานเป็นฝ่ายเลขานุการกรรมการกฤษฎีกา กรรมการพัฒนากฎหมาย กรรมการปรับปรุงกฎหมายต่างๆ ที่คณะรัฐมนตรีกำ หนดให้สำ นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นฝ่ายเลขานุการ รวมตลอดถึงคณะกรรมการและคณะทำงานของคณะกรรมการดังกล่าวด้วย จัดเตรียมเรื่องเข้าประชุม จัดทำ “บันทึกรายงานผลการประชุม(ประจำวัน)” รับผิดชอบทั่วไปในระหว่างการประชุม กำกับดูแล ให้คำแนะนำและประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ช่วยเลขานุการ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย


2. ด้านการวางแผน
วางแผนหรือร่วมดำเนินการวางแผนงาน โครงการของหน่วยงานระดับสำนักหรือกอง มอบหมายงาน แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผล เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด

3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันในทีมงานโดยมีบทบาทในการชี้แนะ จูงใจทีมงานหรือหน่วยงานอื่นในระดับสำนักหรือกอง เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจง ให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์และความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกัน

4. ด้านการบริการ
เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนจัดทำเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับหลักกฎหมายปกครอง การร่างกฎหมายและการให้ความเห็นทางกฎหมายให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง


คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา ระดับปฏิบัติการ และ
2. ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งมาแล้ว ดังต่อไปนี้
2.1 ประเภทอำนวยการ ระดับต้น
2.2 ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ
2.3 ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ไม่น้อยกว่า 4 ปี
2.4 ตำแหน่งอย่างอื่นที่เทียบเท่า 2.1 หรือ 2.2 หรือ 2.3 แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดและ
3. ปฏิบัติงานด้านกฎหมายหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี


นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ

นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ   ตำแหน่งประเภท                       วิชาการ ชื่อสายงาน                                 วิชาการวัฒนธรรม ชื่อตำ...